ขนาดตัวอักษร
แจ้งข้อมูล ก.ธ.จ. คำถามที่พบบ่อย แผนผังเว็บไซต์
ก.ธ.จ.

คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด

“โปร่งใส ไร้ทุจริต คือภารกิจ ก.ธ.จ.”

  • วันหยุดนักขัตฤกษ์
  • กิจกรรมของ ก.ธ.จ.

ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรมล่าสุด

07 พ.ค. 2568

รายละเอียด ข้อกฎหมาย และเอกสารที่เกี่ยวกับการสรรหากรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (วาระที่ 6)

อ่านต่อ >
06 พ.ค. 2568

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รับรองรายชื่อกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (วาระที่ ๕)

อ่านต่อ >
01 เม.ษ. 2568

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ ก.ธ.จ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

อ่านต่อ >
ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรม (รายละเอียด)
03 มี.ค. 2568




ารเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 
  ตามภารกิจของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

------------------------------------       

            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 87 ได้บัญญัติว่า รัฐต้องดําเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพ หรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น เจตนารมณ์ที่บัญญัติไว้ดังกล่าวก็เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนมีดังนี้
            1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย และวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น 
            2. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทําบริการสาธารณะ 
            3. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐทุกระดับ
ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพ หรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
            4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมาย จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เพื่อช่วยเหลือการดําเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุน
การดําเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็น และเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
            5. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพ หรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น   สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.) ดังนี้ 
            คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.) เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 55/1 โดย ก.ธ.จ. มีอยู่ในทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพมหานคร รวม 76 คณะ เพื่อทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ก.ธ.จ. ประกอบด้วย ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน เป็นกรรมการ โดยมีผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,159 คน (รวมประธาน) โดย  ก.ธ.จ. แต่ละคณะต้องมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง 
            ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ซึ่งเป็นภาคประชาชน ได้เข้าร่วมประชุม ก.ธ.จ. รวมจำนวน 234 ครั้ง และมีแผนการติดตามสอดส่องแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แผนงาน/โครงการของส่วนราชการในจังหวัด แผนงาน/โครงการของหน่วยงานของรัฐอื่นๆ อาทิ อปท. รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งเรื่องร้องเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,487 แผนงาน/โครงการ
           จากการประชุมและการสอดส่องแผนงาน/โครงการ ตลอดจนเรื่องร้องเรียน ดังกล่าวข้างต้น พบว่า มีผลการสอดส่อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,244 แผนงาน/โครงการ/เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าแผนการปฏิบัติงานฯ ที่กำหนดไว้ เนื่องจากหน่วยงานได้รับจัดสรรงบประมาณล่าช้า ส่งผลให้การดำเนินโครงการล่าช้า ประกอบกับบางจังหวัดประสบปัญหาอุทกภัย ในจำนวนนี้มีโครงการที่ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จำนวน 1,120 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 49.91 ของแผนงาน/โครงการ/เรื่องร้องเรียน ที่สอดส่องทั้งหมด                    
           ในการนี้ ก.ธ.จ. ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่จังหวัด/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1,912 ข้อ ซึ่งจังหวัดได้รับข้อเสนอแนะไปดำเนินการแล้ว จำนวน 328 ข้อ ซึ่งเมื่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบรับข้อเสนอแนะจาก ก.ธ.จ. ไปดำเนินการและโครงการแล้วเสร็จ จะส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการ เช่น การสัญจรไป – มา/การขนส่งพืชผลทางการเกษตร/การท่องเที่ยวมีความสะดวกสบาย ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัญหาน้ำท่วมทางการเกษตรได้รับการจัดการ มีการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น

                                                              ------------------------------------

รายงานผลการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (PDF)