"; } } for(var i=0; i
"; } else{ dialog_html += "- "+event_obj.calendar_name+"
"; } } } $(".dialog").html(dialog_html); $( ".dialog" ).dialog({ modal: true, width: 640, height:320, open: function() { $('.ui-widget-overlay').bind('click', function() { $('.dialog').dialog('close'); }) } }); } }
- วันหยุดนักขัตฤกษ์
- กิจกรรมของ ก.ธ.จ.
ข่าวประชาสัมพันธ์และกิจกรรมล่าสุด

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รับรองรายชื่อกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด กรณีกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
อ่านต่อ >
ภารกิจผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการธรรมมาภิบาลจังหวัดนครนายก ครั้งที่2/2565
อ่านต่อ >
รายงานผลการปฏิบัติงานของ ก.ธ.จ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ รอบ ๖ เดือนแรก (๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕)
อ่านต่อ >
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย และวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการจัดทําบริการสาธารณะ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพ หรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมาย จัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง เพื่อช่วยเหลือการดําเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดําเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็น และเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่
- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐทุกระดับ ในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพ หรือตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย หรือรูปแบบอื่น
"
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 55/1 ได้กําหนดให้มี
คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด หรือเรียกโดยย่อว่า ก.ธ.จ.
ในทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร
"
จำนวนอำเภอของจังหวัด | จำนวน ก.ธ.จ. ทั้งหมด | ประธาน (ผต.นร.) | จำนวน ก.ธ.จ. | ||
ภาค ประชาสังคม |
สมาชิก สภาท้องถิ่น |
ภาค ธุรกิจเอกชน |
|||
---|---|---|---|---|---|
ไม่เกิน 10 | 14 | 1 | 7* | 3 | 3 |
ตั้งแต่ 11-15 | 16 | 1 | 9 | 3 | 3 |
ตั้งแต่ 16-20 | 18 | 1 | 9 | 4 | 4 |
ตั้งแต่ 21 อำเภอ ขึ้นไป | 20 | 1 | 11 | 4 | 4 |
- สอดส่องผลการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ในกรณีที่พบว่า มีการละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือมีกรณีทุจริต
- เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติและการส่งเสริมตามหลักคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาล เพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานของรัฐในจังหวัด
- ติดตามผลการปฏิบัติตามมติ ก.ธ.จ.
- แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านวิชาการ การประชาสัมพันธ์ หรือด้านอื่น ๆ จํานวนไม่เกินสามคน
- เผยแพร่ผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อสาธารณะตามที่เห็นสมควร
- ปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม ตลอดจนไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
- ปฏิบัติภารกิจเพื่ออํานวยความสะดวก ให้บริการ และสนองความต้องการของประชาชน
- ปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
- ปฏิบัติภารกิจให้เกิดผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่า
- ปฏิบัติภารกิจโดยไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจําเป็น ให้ทันต่อสถานการณ์โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นความเดือดร้อนและทุกข์ยากของประชาชน
- ปฏิบัติภารกิจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
- ปฏิบัติภารกิจโดยมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานสม่ำเสมอและเผยแพร่ต่อสาธารณะ
- การตรวจสอบความถูกต้องในการดําเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐในการกํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ให้เป็นดุลยพินิจของรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีที่กํากับดูแลในแต่ละพื้นที่ โดยให้ผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ นําเรียนหารือในเรื่องดังกล่าว
- กรณีที่รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบความถูกต้องในการดําเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐตามแผนงานโครงการใด ให้ ก.ธ.จ. มีส่วนร่วมในการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้วนําเสนอที่ประชุม ก.ธ.จ. เพื่อมีมติให้เสนอรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
- กรณีที่รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีเดินทางไปกํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ เมื่อ ก.ธ.จ. ได้รับแจ้งจากฝ่ายเลขานุการ ก.ธ.จ. (ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี) แล้ว ให้มีผู้แทน ก.ธ.จ. จํานวน 2 คน ตามมติที่ประชุม ก.ธ.จ. เข้าร่วมกํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่
- ให้ฝ่ายเลขานุการ ก.ธ.จ. (ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการสํานักนายกรัฐมนตรี) สนับสนุนข้อมูลแผนงาน/โครงการที่รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรีมีกําหนดเดินทางไปกํากับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ พร้อมทั้งอํานวยความสะดวกในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กับผู้แทน ก.ธ.จ. ที่ได้รับมอบหมาย